ตุลาคม 2, 2023

Warning: sprintf(): Too few arguments in /home/customer/www/cbc-daily.com/public_html/wp-content/themes/broadnews/lib/breadcrumb-trail/inc/breadcrumbs.php on line 254
ประเพณีให้ทานไฟ

พังงา-อ.กะปง ร่วมสืบสานประเพณีทำบุญให้ทานไฟเพิ่มความอบอุ่นให้พระสงฆ์ในฤดูหนาว 

   

เมื่อวันที่ 14 ม.ค 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ วัดโฆษิตาราม (วัดกะปง) หมู่ที่ 2 ตำบลกะปง อำเภอกะปง จังหวัดพังงา นายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานนำพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอกะปง ร่วมสืบสานประเพณีทำบุญให้ทานไฟ ประจำปี 2566 โดยมี ว่าที่ร้อยเอกพงศ์ศักดิ์ เวทยาวงศ์ นายอำเภอเมืองพังงา นายเดชภูวิส ภักดีสนิท ปลัดอาวุโสอำเภอกะปง ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ เด็ก เยาวชนและประชาชนเข้าร่วม 

ประเพณีให้ทานไฟ 1 ประเพณีให้ทานไฟ 2

นายรณพล ขวัญเซ่ง กำนันตำบลกะปง กล่าวว่า สมัยพุทธกาลในฤดูหนาวของประเทศอินเดีย อากาศหนาวเย็นมาก พระภิกษุสงฆ์ที่เผยแพร่พระพุทธศาสนาตามวัด และตามสถานที่ต่างๆ ประสบกับความทุกข์ยาก จากอากาศที่หนาวเย็น ด้วยมีผ้าครองเพียง ๓ ผืน คือ สบง จีวร และสังฆาติ ประชาชนที่พบเห็นสงสารในสาวกของพระพุทธองค์ จึงได้ก่อกองไฟถวายพระภิกษุเหล่านั้นใช้ผิงให้เกิดความอบอุ่น ชนรุ่นหลังได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นประเพณี เรียกว่า “ประเพณีให้ทานไฟ” ในช่วงใกล้รุ่ง และเห็นว่าเหลือเวลาไม่มากก็จะสว่าง ประชาชนจึงคิดหา เผือก มัน แป้ง ข้าวต่างๆ นำมาย่างไปถวายพระภิกษุด้วย ปัจจุบันได้วิวัฒนาการมาเป็นการก่อกองไฟถวายพระภิกษุ และทำขนมคาวหวานต่างๆ ตามความถนัดของแต่ละบ้านแต่ละท้องถิ่น เพื่อนำมาถวายพระไปพร้อมกัน 

ประเพณีให้ทานไฟ 3 ประเพณีให้ทานไฟ 4

สำหรับงานประเพณีให้ทานไฟของอำเภอกะปง เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน จัดขึ้น ในช่วง “วันเด็กแห่งชาติ” ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี และจัดต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๓๐ เนื่องด้วยชาวอำเภอกะปงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งมีผลดีต่อการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรมตามหลักทางพระพุทธศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อปลูกฝังศีลธรรมจริยธรรมที่ดีแก่เด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ในส่วนของอาหาร เครื่องดื่ม และขนมที่ทำมานอกจากถวายพระแล้วยังแจกจ่ายให้กับเด็กๆ และผู้มาร่วมงานรับประทานฟรี โดยส่วนใหญ่จะเป็นขนมพื้นบ้านประจำถิ่นซึ่งปรุงขึ้นมาใหม่ๆ ทั้งนั้น

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Related News